การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20


การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

จากเหตุการณ์ที่ยืดเยื้อและทำให้พิธีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งการคณะสงฆ์ไทย มีปมปัญหาที่ไม่เข้าใจเกิดขึ้นกับประชาชนชาวไทยอย่างไม่รู้จบ







แม้กระทั่งการรวมตัวของพระสงฆ์หลายหมื่นรูป  เพื่อยื่นหนังสือถึงผู้นำประเทศ ขอความเป็นธรรมในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชที่พุทธมณฑล ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความสับสนมากมายในสังคมไทยและชาวพุทธทั่วโลก  


วันนี้ขอหยิบยกนำความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาอธิบายขยายความเพื่อพอเข้าใจตรงกันดังนี้

1.ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๓๕

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๕ เป็นปีที่ ๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

และให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่ เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

          มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕“

          มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

          มาตรา ๔ ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บรรดากฎกระทรวง สังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฎองค์การพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ที่ใช้บังคับ อยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา ให้คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระ ราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคมพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ข้อบังคับหรือ ระเบียบของมหาเถรสมาคม ยกเลิก หรือมีความอย่างเดียวกันหรือขัดหรือแย้งกันหรือกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น

หมวด ๑ สมเด็จพระสังฆราช

           มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง

           ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอ นามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

           ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้นายกรัฐมนตรีโดย ความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดย สมณศักดิ์รองลงมา ตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

            มาตรา ๘ สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์และทรงตรา พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม

            มาตรา ๑๐ ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์เป็นผู้ ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

            ๒. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
               ๒.๑ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และ ๒.๒ นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๓๕

    

จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์



นายอานันท์ ปันยารชุน
   

จากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ที่แสดงรายละเอียดไว้ปรากฏกับสายตาผู้อ่านดังนี้แล้วอีกทั้งคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ก็ได้ยึดถือปฏิบัติแล้วทุกประการ แต่ ณ บัดนี้ การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช กำลังจะมีทีท่าว่าจะถูกกลั่นแกล้งให้ยืดเวลาต่อไปอีกนานเท่าไร ขอให้ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลไทยในยุคนี้ ช่วยชี้แจงแถลงการณ์ ให้สังคมได้ทราบด้วยจะได้หรือไม่?????

CR.ระฆังข้างรั้ววัด

Previous
Next Post »